ประวัติความเป็นมา

แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะเป็นมูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทยอย่างปัจจุบันนั้น ย้อนอดีตไปเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ทุกอย่างได้เริ่มต้นจากความรัก ความสงสารและความอยากที่จะช่วยเหลือสัตว์ป่า ซึ่งในยุคนั้นสัตว์ป่าได้ถูกล่าและนำมาขายอย่างเกลื่อนกลาดตามตลาดมืดทั่วประเทศ เป็นยุคทองของการล่าสัตว์ป่าในไทย ซากชิ้นส่วนสัตว์ป่าและที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถพบเห็นได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากยังไม่มีการคลอดตัวบทกฏหมายที่เกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น จึงได้มีความคิดจัดตั้งและแปลงสนามหลังบ้านเล็ก ๆ ใจกลางถนนสุขุมวิท ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นทุ่งนาอยู่ ให้เป็น ศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่า เพื่อใช้เป็นที่ช่วยเหลือและเลี้ยงดูสัตว์ป่าที่ได้ช่วยเหลือมา

พอเวลาผ่านไปผู้คนเริ่มนำสัตว์ป่าที่ไม่ต้องการแล้วมามอบให้แบบปากต่อปาก รวมไปถึงเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ที่แวะเวียนนำสัตว์ป่ามาฝากดูแล บ้างก็นำมาให้ช่วยรักษาสัตว์ป่าที่บาดเจ็บเนื่องจากในยุคนั้นยังไม่มีสัตว์แพทย์สัตว์ป่าดั่งเช่นปัจจุบัน การนำสัตว์ป่าที่บาดเจ็บไปยังคลินิคสัตว์จึงมักได้รับการปฏิเสธ ผู้คนจึงมักนำมามอบให้เพราะรองประธานมูลนิธิฯ ได้รับการกล่าวขาลว่าเป็นสัตวแพทย์สัตว์คนแรกของประเทศ ส่งผลให้จำนวนสัตว์มีปริมาณมากขึ้น พื้นที่ในการวางกรงเลี้ยงดูสัตว์ป่าหลังบ้านเริ่มไม่เพียงพอ ประกอบกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ จึงได้ปรึกษาและรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน จนได้ตัดสินใจจัดตั้ง มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ขึ้น ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ โดยได้รับอนุญาตให้เป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย เลขที่ กท ๒๐ เพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์ป่าที่อยู่ในความดูแลขณะนั้นจะสามารถมีชิวิตอยู่ได้อย่างดี และได้ขยายงานช่วยเหลือสัตว์ป่าควบคู่ไปกับเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ (สมัยนั้นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชยังไม่ก่อตั้ง) และร่วมมือในการรับดูแลสัตว์ป่าจำนวนมากให้กับทางมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์  โดยได้รับการช่วยเหลือจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าและอาสาสมัครจากทั่วโลก ประกอบกับได้ทำการช่วยเหลือหน่วยงานราชการด้วยดีมาตลอด โดยเฉพาะกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่อยมา จนมีโครงการต่าง ๆ ตั้งอยู่ทั่วประเทศไทยอย่างทุกวันนี้

ด้วยความช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธา อาสาสมัครทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการทุ่มเทกำลังกายกำลังใจจากเจ้าหน้าที่ทุกคน ทำให้มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทยสามารถขยายการช่วยเหลือสัตว์ป่า จากเดิมที่เคยเริ่มต้นกันที่กรงเล็กๆหลังบ้าน กลายมาเป็นศูนย์ต่างๆกระจายอยู่หลายแห่งในประเทศ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับสถานการณ์สัตว์ป่าที่ยังต้องการ ความช่วยเหลืออีกมากในประเทศ

ปัจจุบันหลังจาก

 ** เนื่องด้วยข้อมูลการทำงานในอดีตมีจำนวนค่อนข้างมาก และยังไม่ได้ถูกบันทึกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลหน้านี้จึงยังไม่สมบูรณ์ ทางทีมงานกำลังรีบจัดทำครับ ขออภัยมา ณ ที่นี้ ** 

พ.ศ. ๒๕๖๗

พ.ศ. ๒๕๖๖

  • สนับสนุนการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง โดยมอบอินเตอร์เนตไร้สายให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไว้ใช้ติดตามและรายงานในพื้นที่ที่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ด้านฝั่งทะเลอันดามัน
  • ประสบความสำเร็จในการฟื้นคืนชะนีมือขาวร่วมกับพ่อหลวงและชาวบ้านในผืนป่าชุมชนอนุรักษ์บ้านปางจำปี จังหวัดเชียงใหม่ที่ซึ่งอดีตเคยถูกล่าจนสูญพันธุ์ จนปัจจุบันสามารถปล่อยได้มากถึง 36 ตัว ในที่นี้มีการออกลูกในป่าเพิ่มอีก 7 ตัว
  • มอบรางวัล หมู่บ้านอนุรักษ์ชะนีดีเด่น แห่งชาติ ให้แก่หมู่บ้านปางจำปี พร้อมด้วยประกาศเกียรติคุณให้แก่ พ่อหลวง และชาวบ้านที่ร่วมมือกันฟื้นคืนประชากรชะนีที่เคยสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ได้สำเร็จ
  • เปิดอบรมหลักสูตร มัคคุเทศน์น้อยเพื่อการปกป้องผืนป่าที่ยั่งยืน
  • ได้รับเชิญเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุม SOS IUCN : SAVE  OUR SPECIES GIBBONS. Conservation Action for Asia’s Small Apes
  • มอบทุนการศึกษาให้เยาวชน ในกิจกรรมงานประกวดภาพวาดระบายสีการอนุรักษ์เต่าทะเลไทย ในงานวันเด็ก
  • โครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ทำภารกิจประจำปีร่วมกับชุมชนและเยาวชนในการทำความสะอากชายหาก จังหวัดระนอง

พ.ศ. ๒๕๖๕

  • เข้าร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อจัดตั้งเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทวเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล แห่งที่ 6 ของประเทศไทย
  • จัดตั้งโครงการพิชิตขยะริมหาดเพื่อสัตว์ทะเลหายากร่วมกับทาง Uniqlo
  • เปิดอบรมหลักสูตร การคืนชะนีสู่ป่าเบื้องต้น ครั้งที่ 1 ให้แก่ทีม Smart Petrol ของทางกรมอุทยานฯ
  • เข้าช่วยเหลือลิงที่ถูกทรมานและนำมาทิ้งไว้ที่เกาะพีพี
  • รับมอบเงินบริจาก Thanyapura Trail Run 2023 วิ่งเพื่อการอนุรักษ์ชะนี พร้อมให้ความรู้แก่นักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิก

พ.ศ. ๒๕๖๔

พ.ศ. ๒๕๖๓

พ.ศ. ๒๕๖๒

พ.ศ. ๒๕๖๑

  • ได้รับรางวัล “กนกนาคราช” เชิดชูเกียรติองค์กรที่สร้างคุณงามความดี เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ  ด้าน องค์กรศรีแผ่นดินด้านพิทักษ์ธรรม จากสมาคมผู้ผลิตรายการภาพและเสียง
  • จัดตั้งโครงการ ชะนีไพร ดับไฟป่า ร่วมกับชาวบ้านปางจำปี ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่
  • จัดตั้งโครงการ ศูนย์พักพิงลิงชรา จังหวัดระนอง เพื่อดูแลบั้นปลายชีวิตของลิงที่ไม่สามารถปล่อยคืนกลับสู่ธรรมชาติได้ ให้มีชีวิตที่มีความสุขที่สุด

พ.ศ. ๒๕๖๐

  • ได้รับเกียรติเชิญไปบรรยายในงาน Nexus Global Summit จัดที่ องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค เพื่อบรรยายเกี่ยวกับการวิวัฒนาการการช่วยเหลือสัตว์ป่า

พ.ศ. ๒๕๕๙

  • ได้รับการโหวตจากทั่วโลกให้รับรางวัลรองชนะเลิศ Thailand Green Excellence Award สาขา การจัดการดูแลสัตว์ป่าดีเด่น
  • ทำการติดตามชะนีมือขาวในป่าที่ได้เคยฝึกปล่อยไป จนตามเจอครบทุกครอบครัว พร้อมข่าวดีมีลูกน้อยเกิดใหม่ในป่าถึง ๓ ตัว

พ.ศ. ๒๕๕๘

พ.ศ. ๒๕๕๗

พ.ศ. ๒๕๕๖

  • ได้รับการโหวตจากทั่วโลกให้รับรางวัลชนะเลิศ Thailand Green Excellence Award สาขา การจัดการดูแลสัตว์ป่าดีเด่น
  • ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาจังหวัดลพบุรี ในการสำรวจและศึกษาพื้นที่แหล่งอาศัยและอาหารของสัตว์ป่า เพื่อเตรียมทำโครงการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ

พ.ศ. ๒๕๕๕

  • ร่วมกับอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย และศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ เชียงใหม่ ในการสำรวจและศึกษาพื้นที่แหล่งอาหารของสัตว์ป่า เพื่อจัดทำโครงการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ
  • ทดลองนำชะนีเพศผู้ที่ได้รับการฟื้นฟูสัญชาตญาณสัตว์ป่าไปจับคู่กับชะนีเพศเมีย เพื่อปล่อยที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จนประสบความสำเร็จครั้งแรกในเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๕๔

  • ได้รับการประกาศจากกระทรวงการคลัง ให้เป็นองค์การสาธารณกุศล ลำดับที่ ๗๔๑ ว่าด้วยการยกเว้นภาษีฯ
  • โครงการศูนย์ช่วยชีวิตและศึกษาเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าจังหวัดระนอง ของทางมูลนิธิฯ ได้ทำงานร่วมกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา ในการช่วยเหลือรับมอบสัตว์ป่ามาดูแล

พ.ศ. ๒๕๕๓

พ.ศ. ๒๕๕๒

  • ดำเนินโครงการปล่อยสัตว์น้ำคืนสู่ถิ่น และโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ร่วมกับทางจังหวัดระนองและสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๕๑

  • ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะลและชายฝั่ง ทำการศึกษาและสำรวจพะยูนฝั่งทะเลอันดามัน
  • ดำเนินการโครงการกู้ชีวิต อนุบาล และฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายาก ร่วมกับทางจังหวัดระนองและสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๕๐

  • ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อสำรวจและประเมินสถานการณ์ของสัตว์ทะเลหายากหรือใกล้สูญพันธุ์รวมถึงแหล่งหญ้าทะเล ที่บริเวณชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ตและตรัง โดยใช้วิธีการบินสำรวจและถ่ายภาพจากเครื่องบินเล็ก

พ.ศ. ๒๕๔๙

  • ประธานมูลนิธิฯได้รับการแต่งตั้งจากมติคณะรัฐมนตรีเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
  • จัดทำโครงการพัฒนาความสามารถและเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ รุ่นที่ ๒ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ๕ จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย และอุตรดิษถ์

พ.ศ. ๒๕๔๘

พ.ศ. ๒๕๔๗

  • ได้รับการรับรองจากทาง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้โครงการคืนชะนีสู่ป่า เป็นโครงการต้นแบบ ที่ทำงานครบวงจรและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เนื่องจากสามารถฟื้นคืนประชากรชะนีที่เคยสูญพันธุ์ไปจากเกาะภูเก็ตให้กลับมาได้

พ.ศ. ๒๕๔๖

  • ช่วยเหลือลิงแสมจำนวน ๕๐ ตัว จากสถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่ กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยง สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อมาดูแลช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของทางราชการ
  • ร่วมกับประชาชนชาวจังหวัดลพบุรีและประชาชนทั่วไป รวมทั้งสวนสัตว์ลพบุรี ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์สงครามพิเศษ กองทัพบก ร่วมกันก่อตั้ง โรงพยาบาลลิงลพบุรี เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆทางด้านการรักษาสัตว์ป่า ซึ่งถือว่าเป็นการจัดตั้งโรงพยาบาลลิงครั้งแรกของโลก

พ.ศ. ๒๕๔๕

  • มีการประกาศจัดตั้ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ขึ้นโดยให้แยกออกจากกรมป่าไม้
  • ร่วมกับองค์กรต่างๆในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติจัดงาน “วันคนรักษ์สัตว์ป่า” ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาความสามารถและเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ รุ่นที่ ๑ ใน ๕ จังหวัดนำร่องคือ เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง กาญจนบุรี และ ลพบุรี
  • ได้รับอนุมัติจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ให้ใช้สถานที่ สวนสัตว์ลพบุรีเพื่อจัดตั้งสำนักงานและสร้างสถานพยาบาลสัตว์ป่า เพื่อทำโครงการช่วยเหลือและศึกษาลิงร่วมกับทางสวนสัตว์และจังหวัดลพบุรี

พ.ศ. ๒๕๔๔

พ.ศ. ๒๕๔๓

พ.ศ. ๒๕๔๒

  • ดำเนินการมอบอาหารสัตว์ให้กับสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ๘ แห่งทั่วประเทศ รวมมูลค่า ๒.๕ ล้านบาท

พ.ศ. ๒๕๔๑

  • มกราคม ช่วยทางราชการดูแลลูกหมีหมาเพิ่มอีก ๒ ตัว แต่ละตัวมีอายุประมาณ ๑ เดือน ที่แม่ถูกฆ่าตายในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อเติบโตและแข็งแรงดีก็ได้นำไปปล่อยร่วมกับทางกรมฯ
  • ทำการสำรวจสถาวะโรคในชะนีครั้งใหญ่รวมจำนวน ๑๕๙ ตัว ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ากระบกคู่ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา และชะนีที่ดูแลอยู่ในโครงการคืนชะนีสู่ป่า
  • สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในการจัดทำโครงการปลูกพืชอาหารช้างป่า กุยบุรี 
  • ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ป่าลพบุรี ร่วมกับทางสวนสัตว์ลพบุรี
  • ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ป่าอยุธยา ร่วมกับทางปางช้างอยุธยา
  • ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ป่าจังหวัดตาก
  • เริ่มต้นภารกิจ จัดตั้งหน่วยช่วยชีวิตสัตว์ป่าเคลื่อนที่ขึ้นเป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๕๔๐

  • สิงหาคม ช่วยทางราชการในการเลี้ยงดูลูกหมีเพิ่มอีก ๑ ตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ทำการยึดมาจากผู้ที่ทำผิดกฏหมาย และสามารถนำปล่อยคืนสู่ป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
  • ตุลาคม ดำเนินการส่งลูกชิมแพนซีจำนวน ๒ ตัวซึ่งได้ทำการรักษาและเลี้ยงดูจนแข็งแรงดีแล้วไปไว้ที่สวนสัตว์เปิดโคราช
  • ทำการช่วยเหลือช้างที่ถูกรถชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ เชือก และลูกช้างป่าจากกุยบุรี แก่งกระจานและบุรีรัมย์อีก ๓ เชือก
  • จนถึงตอนนี้ ทางมูลนิธิฯ มีสัตว์ป่าที่อยู่ภายใต้การดูแลช่วยเหลือมากถึงกว่า ๕๐๐ ตัว เช่น ชะนีมือขาว ชะนีมงกุฏ ลิงเสน ลิงกัง ลิงแสม ค่าง นางอาย ชิมแพนซี หมีหมา หมีขอ นิ่ม เม่นใหญ่ แมวดาว เสือโคร่ง ช้าง นกเหยี่ยว ฯลฯ
  • สนับสนุนทุนทรัพย์และประสานงานร่วมมือส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ได้ไปฝึกอบรมเพิ่มพูนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านสัตว์ป่ายังต่างประเทศ (ต่อเนื่อง)

พ.ศ. ๒๕๓๙

  • มีนาคม ประสานงานนำลิงอุรังอุตัง เพศเมีย ๑ ตัว เพื่อการเพาะเลี้ยงให้แก่สวนสัตว์ลพบุรี
  • มิถุนายน ได้รับบริจาครถ Isuzu Rodeo จากสถานฑูตแคนาดาร่วมกับสถานฑูตออสเตเลีย และ Care for the Wild
  • กรกฎาคม ได้ช่วยทางราชการดูแลลูกหมี จำนวน ๕​ ตัว ที่ถูกยัดไว้ในกระสอบทิ้งไว้ชายขอบป่า จังหวัดชัยนาท โดยที่ทั้ง ๕ เกือบจะสิ้นใจแล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ไปพบเข้าและนำมาให้ทางมูลนิธิฯช่วยเลี้ยงดูจนแข็งแรงและมีชีวิตรอดทั้งหมด
  • สิงหาคม ได้ช่วยทางราชการในการเลี้ยงดูลูกชิมแพนซีจำนวน ๒ ตัว ลูกเสือโคร่งตาบอด ๑ ตัว และลูกสัตว์ป่าที่ถูกทรมานอีกหลายตัว
  • กันยายน ได้ช่วยทางราชการในการเลี้ยงดูลูกหมีจำนวน ๔๐ ตัว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการยึดมาจากผู้ที่เลี้ยงอย่างผิกกฏหมายเพื่อนำชิ้นส่วนไปประกอบเมนูอาหารในภัตตาคารอาหารป่า
  • สนับสนุนทุนทรัพย์และประสานงานร่วมมือส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ได้ไปฝึกอบรมเพิ่มพูนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านสัตว์ป่ายังต่างประเทศ (ต่อเนื่อง)

พ.ศ. ๒๕๓๘

  • ตุลาคม ประสานงานช่วยเหลือนำชะนีมือขาว ๒ ตัว ที่ถูกลับลอบออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ กลับสู่มาตุภูมิไทย
  • สนับสนุนทุนทรัพย์และประสานงานร่วมมือส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ได้ไปฝึกอบรมเพิ่มพูนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านสัตว์ป่ายังต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๓๗

  • ประธานมูลนิธิฯได้รับการแต่งตั้งจากมติคณะรัฐมนตรีเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
  • ได้รับรางวัล Global 500 สาขาการอนุรักษ์จาก UNEP
  • ประสานงานช่วยเหลือนำชะนีมือขาว ๑ ตัวของไทยกลับจากประเทศอิสราเอล
  • สนับสนุนทุนทรัพย์และสิ่งของจำเป็นในการสร้างและเปิด ศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่ากระบกคู่ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับกรมป่าไม้ เพื่อที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐานสากล คือ การมีกรงมาตรฐาน มีการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ เช่น การเพาะเลี้ยง การควบคุมโรค ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่าเพื่อก้าวไปสู่การนำสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติอย่างยั่งยืนมีระบบครั้งแรก ก่อนที่ทางกรมป่าไม้จะได้รับมอบงบประมาณประจำปีมาดำเนินการบริหารศูนย์ฯอย่างเต็มรูปแบบ

พ.ศ. ๒๕๓๖

  • ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่ากระบกคู่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับกรมป่าไม้
  • ได้เริ่มเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือดูแลและฝึกปล่อยชะนี ที่โครงการคืนชะนีสู่ป่า จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. ๒๕๓๕

  • มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ขึ้นเป็นครั้งแรกและถือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าโดยเฉพาะครั้งแรกของประเทศไทย
  • ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในฐานะ มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (วันเกิดมูลนิธิฯ)
  • มูลนิธิฯ ได้รับการอนุญาตให้เป็นนิติบุคคลถูกต้องตามกฏหมาย ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
  • กรมป่าไม้แนะนำให้ทำ โครงการศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่า ร่วมกับทางกรมป่าไม้

พ.ศ. ๒๕๓๔

  • ดำเนินการจัดส่ง ลูกลิงอุรังอุตัง ๖ ตัว กลับสู่ประเทศอินโดนีเซีย
  • ช่วยกรมป่าไม้ ทำการเลี้ยงดูลูกเสือโคร่งอายุ ๓ สัปดาห์จำนวน ๓ ตัว ที่ยึดมาได้จากผู้ลักลอบเตรียมส่งไปขายให้ร้านอาหารในประเทศไต้หวัน เนื่องจากลูกเสืออยู่ในอาการใกล้ตาย ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ที่ต้องผลัดเวรประคบประหงมตลอด 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกันกับลูกลิงอุรังอุตัง ที่พอมีอายุได้หกเดือนและแข็งแรงดีก็ได้ส่งกลับไปให้กรมป่าไม้

พ.ศ. ๒๕๓๓

  • ช่วยกรมป่าไม้ ทำการเลี้ยงดู ลูกลิงอุรังอุตัง อายุประมาณ ๒ – ๔ เดือน จำนวน ๖ ตัว ที่กรมป่าไม้ยึดมา จากผู้ลักลอบส่งสัตว์ป่าผ่านสนามบินดอนเมืองซึ่งอยู่ในสภาพที่เกือบจะตายอยู่เป็นเวลาหลายเดือนจนแข็งแรงดี และในที่สุดก็ได้ส่งคืนไปยังประเทศอินโดนีเซีย ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ CITES เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศอเมริกาและทั่วโลกในนาม “Bangkok Six”

พ.ศ. ๒๕๓๒

  • ช่วยกรมป่าไม้ ดูแลเลี้ยงดูลูกสัตว์ป่าและสัตว์ป่าพิการ เช่น ชะนี ลิงเสน ลิงแสม ลิงกัง ลิงวอก ค่าง นางอาย และสัตว์ป่าอื่นๆ ที่มีผู้นำไปมอบให้กับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย หรือที่มีผู้นำมามอบใหกับทางมูลนิธิฯเอง

พ.ศ. ๒๕๓๑

  • ช่วยกรมป่าไม้ ดูแลเลี้ยงดูลูกสัตว์ป่าและสัตว์ป่าพิการ เช่น ชะนี ลิงเสน ลิงแสม ลิงกัง ลิงวอก ค่าง นางอาย และสัตว์ป่าอื่นๆ ที่มีผู้นำไปมอบให้กับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย หรือที่มีผู้นำมามอบใหกับทางมูลนิธิฯเอง

พ.ศ. ๒๕๓๐

  • ช่วยกรมป่าไม้ ดูแลเลี้ยงดูลูกลิงตาบอดและลูกชะนีอายุ ๓ เดือน และลูกสัตว์ป่าอื่นๆที่มีผู้นำไปมอบให้กับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย หรือที่มีผู้นำมามอบให้กับทางมูลนิธิฯเอง

พ.ศ. ๒๕๒๙

  • ช่วยลูกชะนีอายุประมาณ ๖ เดือนที่ถูกล่ามโซ่ตากแดดตากฝนไว้กับเสา
  • ช่วยนกเหงือกที่ถูกหักปีกเตรียมฆ่าเพื่อนำจงอยปากไปทำถ้ำยานัตถุ์ที่จังหวัดระนอง
  • ช่วยลิงเสนบาดเจ็บ

พ.ศ. ๒๕๒๘

  • ช่วยลิงเสนที่เพิ่งเกิดได้ไม่กี่วันและเจ็บกำลังจะตายจากตลาดมืดสวนจตุจักร จนมีชีวิตรอดซึ่งถือเป็นการจุดประกายการช่วยเหลือสัตว์ป่าครั้งแรก
  • จัดตั้งศูนย์พิทักษ์และช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งแรก ในกรุงเทพมหานคร ที่สนามหลังบ้าน