วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เต่าทะเล
2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับเต่าทะเลในพื้นที่ชายฝั่ง จังหวัดระนอง
3. เพื่อให้ชุมชนเข้าใจถึงสถานการณ์และความสำคัญในการอนุรักษ์เต่าทะเลว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับเวทีโลก ที่มีผลต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในประเทศไทย
4. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปกป้องการสูญพันธุ์ของเต่าทะเลในประเทศไทย
5. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมการอนุรักษ์เต่าทะเลเป็นเครื่องมือ
การดำเนินงาน
1. สอบถามความต้องการของชุมชนในการอนุรักษ์เต่าทะเลในพื้นที่
2. จัดประชุมชาวบ้านเพื่อทำการเก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันของชาวบ้านในพื้นที่ และเวทีทำความเข้าใจถึงสถานการณ์และความสำคัญของเต่าทะเลให้กับคนในชุมชน
3. จัดตั้งอาสาสมัครภายในชุมชนเพื่อทำการสำรวจเต่าทะเลโดยอาศัยข้อมูลที่ชาวประมงในพื้นที่มีเป็นหลัก และจัดกิจกรรมเดินลาดตระเวนเพื่อสำรวจการขึ้นวางไข่เต่าทะเล ป้องกันการลักลอบนำไข่เต่าทะเลไปจำหน่าย หรือบริโภค
4. จัดกิจกรรมนำเรือสำรวจช่วงฤดูวางไข่ โดยมีการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน กลุ่มประมงชาวบ้าน
5. ของบประมาณจาก อบต. เพื่อเป็นกองทุนในการอนุรักษ์เต่าทะเลในช่วงฤดูกาลวางไข่นี้
6. จัดฝึกอบรมการเดินเต่าทะเลที่ถูกวิธี โดยชาวบ้านที่มีความชำนาญในการเดินเต่า และวิธีการดูแลไข่เต่าทะเล โดยการกันพื้นที่บริเวณชายหาด เพื่อให้ลูกเต่าฟักตามธรรมชาติ
7. จัดทำฐานข้อมูลการพบเต่าและเต่าวางไข่ของทุกเครือข่ายเพื่อลงเวบไซต์ เผยแพร่ให้คนทั่วไปตระหนักถึงภาวะของเต่าทะเลอย่างจริงจัง และเป็นฐานข้อมูลของชาวบ้าน เพื่อนำเสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่ม และของบประมาณจากส่วนกลางโดยเฉพาะ อบต. และ อบจ. อันจะนำไปสู่นโยบายในการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มชุมชนชาวประมงและประชาชนในพื้นที่ ของจังหวัดระนอง 50 คน