เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561 กลุ่มนักเรียนภาคภาษาอังกฤษโรงเรียนสตรีภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าภายในโรงเรียน แล้วนำมามอบให้ทางโครงการคืนชะนีสู่ป่า
ทางมูลนิธิฯต้องขอขอบพระคุณในกิจกรรมดีๆเพื่อสัตว์ป่ามา ณ ที่นี้ด้วยคะ
เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561 กลุ่มนักเรียนภาคภาษาอังกฤษโรงเรียนสตรีภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าภายในโรงเรียน แล้วนำมามอบให้ทางโครงการคืนชะนีสู่ป่า
ทางมูลนิธิฯต้องขอขอบพระคุณในกิจกรรมดีๆเพื่อสัตว์ป่ามา ณ ที่นี้ด้วยคะ
เมื่อวันที่ 10 เม.ย. พ.ต.อ.ชนะวรศิณธุ์ ศุภพนารักษ์ ผกก. สภ.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พ.ต.ท.เด่นดวง ทองศรีสุข รอง.ผกก.ป. พ.ต.ต.ชัชชีวิน นาคมูสิ สวป. นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นกระต๊อบไม้ที่ปลูกในสวนกล้วย ม.3 ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย หลังจากที่มีพลเมืองดีแจ้งเบาะแสกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีคนไทยนำชะนี ที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองมาขังไว้ในกรงที่มีขนาดเล็ก และชะนียังได้ส่งเสียงร้องโหยหวนทุกคืน สร้างความรำคาญให้กับชาวบ้านที่อยู่ในระแวกนั้นเป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่ได้พบกับนายสมพร จงในงาม อายุ 30 ปี ชาวจังหวัดอุดรธานี ที่พักอาศัยอยู่ในกระต๊อบหลังดังกล่าว จากการตรวจสอบบริเวณดงกล้วยพบชะนี 2 ตัว ตัวผู้ และตัวเมีย อายุประมาณ 3-4ปี ถูกขังอยู่ในกรงที่มีขนาดเล็ก เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการยึดไว้ พร้อมนำตัวนายสมพร ไปสอบปากคำที่สภ.บ่อผุด จากการสอบปากคำนายสมพร ให้การว่า ชะนีทั้ง 2 ตัวนี้เป็นของเพื่อนชายที่นำมาฝากเลี้ยงไว้ ส่วนตนเองนั้นมีอาชีพขายของเร่บนชายหาดเฉวง แต่จากการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ยังไม่ปักใจเชื่อจึงได้ควบคุมตัว พร้อมยึดชะนีทั้ง 2 ตัว ไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับแจ้งข้อกล่าหาดำเนินคดี ด้าน พ.ต.อ.ชนะวรศิณธุ์ ผกก.สภ.บ่อผุด เปิดเผยว่า ผู้ต้องหารายนี้เป็นกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มชายไทยที่ที่ทำผิดกฎหมายนำชะนี และอีกัวน่า มาเดินอุ้มเร่ไปตามชายหาดเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปคู่ไว้เป็นที่ระลึก พร้อมเรียกเก็บเงินครั้งละ 50-100 บาท จนก่อความรำคาญให้กับนักท่องเที่ยว บางครั้งชายไทยกลุ่มนี้นำชะนีไปให้นักท่องเที่ยวอุ้มถ่ายรูปโดยที่ได้ไม่ตกลงราคากัน และนักท่องเที่ยวก็ไม่เข้าใจผิดคิดว่ามาให้ถ่ายรูปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พอเรียกเก็บเงินนักท่องเที่ยวก็ไม่ยอมจ่ายจนมีปัญหาโต้เถียงกัน และเกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเทียวตามมา เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหากับนายสมพร จงในงาม อายุ 30 ปี กระทำผิดฐาน มีสัตว์ป่าคุ้มครอง(ชะนี) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามม.19 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 พร้อมควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 กล้องวงจรปิดบันทึกภาพชายไทย 2 คน คนแรกอุ้มชะนี และอีกคนอุ้มอิกัวนา มาเดินเร่ตามตามแหล่งท่องเที่ยวชายหาดเฉวง และร้านอาหาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปคู่กับชะนี ต่อมาได้มีหญิงสาวชาวต่างชาติกำลังอุ้มชะนีเพื่อที่จะถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก พนักงานเสิร์ฟกำลังเดินผ่านหน้าหญิงสาวชาวต่างชาติได้ถูกชะนีกัดเข้าที่แขนเป็นแผล หลังเกิดเหตุชายไทยทั้ง 2 คนได้เดินหายไปพร้อมกับอิกัวนาและชะนีตัวดังกล่าว
ที่มา : ภาพ/ข่าว อัญชลีพร โย่งโต ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุราษฎร์ธานี
เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าบ้านทะเลนอกของทางมูลนิธิฯได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีพญากระรอกดำ (Black giant squirrel, Ratufa bicolor) หรือที่ทางใต้มักเรียกกันว่า พะแมว ซึ่งถือเป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พลัดหลงเข้าไปในบริเวณบ้านซึ่งอยู่ติดกับป่า จึงได้ทำการจับใส่กรงแล้วนำมามอบให้เพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
จากการสำรวจเบื้องต้น ไม่พบบาดแผลและความผิดปกติใดๆ มีความตื่นคนสูง จึงรีบนำไปปล่อยคืนในป่าด้านหลังศูนย์ฯ ที่เคยพบเจอพญากระรอกดำอยู่เป็นประจำ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกัน เนื่องจากช่วงนี้ผลไม้หลายชนิดริมป่าหลังบริเวณบ้านชาวบ้านเริ่มออกผลเป็นจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2561 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4 จากโรงเรียนมุสลิมวิทยา จังหวัดภูเก็ต ติดต่อเพื่อมาขอใข้เวลาว่างระหว่างปิดเทอมให้เป็นประโยชน์โดยการมาฝึกงานกับทางโครงการคืนชะนีสู่ป่า ของทางมูลนิธิฯ
ครั้งนี้นักเรียนกลุ่มนี้ได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติ ได้ร่วมทดลองงานดูแลชะนีเบื้องต้น รวมไปถึงการให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมโครงการฯ
ทางมูลนิธิฯขอให้น้องๆนำบทเรียนที่ได้ไปพัฒนาและบอกต่อคนในครอบครัวและสังคมต่อไปครับ
น.สพ. ชิษณุ ติยะเจริญศรี รองประธานมูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ถกประเด็น การตีมูลค่าเสือดำ ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้
เมื่อวันที่ 11 – 16 มีนาคม พ.ศ.2561 นักเรียนจำนวน 4 คนจากโรงเรียน UWC ประเทศสิงคโปร์ ได้เดินทางมาเป็นอาสาสมัครของโครงการคืนชะนีสู่ป่า เรียนกระบวนการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ปล่อยชะนีคืนสู่ธรรมชาติ รวมถึงช่วยให้ความรู้นักท่องเที่ยวและระดมทุนเพื่อช่วยเหลือชะนี นับเป็นเวลา 6 วันที่เต็มไปด้วยความรู้และฝึกความอดทนในการหัดทำงานในสภาพป่าดิบชื้นหน้าร้อนของไทยได้เป็นอย่างดี
ทางมูลนิธิฯหวังอยากเห็นเยาวชนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าแบบนี้มากขึ้นทวีคูณยิ่งๆขึ้นไปเพื่ออนาคตของทุกคนคะ
โจ จิรายุส ผุดโครงการ “เป้ประชด” โดยเจ้าตัวเผยว่า มีความตั้งใจที่จะทำโครงการ “เป้ประชด” เพื่อเสือดำ โดยหารายได้จากการขายหลังหักค่าใช้จ่าย มอบให้มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยเหลือสังคมและสัตว์ป่า ไม่ได้มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่มีเจตนาที่จะลบหลู่องค์กรหรือบุคคลใด
เป้ (ถุงผ้า) เหล่านี้ใช้งานใส่ของได้จริง ใช้งานได้จริง เมื่อมีผู้พบเห็นก็จะมีสำนึก ไม่ให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอีกต่อไป ในส่วนตัวกระผม ผมว่ามันจรรโลงสังคมและเท่ห์ดี
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับ มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ มูลนิธิเดอะวอยซ์ เสียงจากเรา และโน้ต วัชรบูล ดารานักแสดงผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพสัตว์ป่า ร่วมกันแถลงการณ์เร่งรัดและแสดงความคิดเห็นทวงถามความคืบหน้าคดีเสือดำ ที่จนถึงวันนี้ครบรอบ 1 เดือน ของการที่สัตว์ป่าผู้อยู่บนห่วงโซ่อาหารสูงสุดของระบบนิเวศถูกยิงตายในพื้นที่มรดกโลก
โดยมีแถลงการณ์ที่สำคัญดังนี้
1. มีการลักลอบนำอาวุธเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและลักลอบตั้งแคมป์ในพื้นที่ที่ไม่ได้อนุญาต ประกอบกับมีเสียงปืนและเจ้าหน้าที่พบซากสัตว์ป่าและรอยกระสุนรวมถึงการประกอบอาหาร ล้วนเป็นพยานวัตถุสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ชัดเจนว่านายเปรมชัยและพวกร่วมกันกระทำความผิด
2. จากหลักฐานสำคัญที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่าคดีนี้ไม่มีความซับซ้อน จึงขอเร่งรัดให้ฝ่ายที่ดูแลและรับผิดชอบคดี เร่งรัดการดำเนินการสรุปสำนวน และอย่าพยายามเบี่ยงเบนประเด็นในการสอบสวน โดยมุ่งไปสู่การพยายามหาพยานวัตถุที่เปลี่ยนแปลงได้
3. ขอให้กรมอุทยานฯและรัฐบาลเร่งรัดติดตามคดีอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบสำนวนอย่างรอบคอบก่อนส่งฟ้อง
4. ชอให้รัฐบาลอยู่ข้างประชาชนและร่วมประณามผู้มีแจตนาทำร้ายทรัพยากรประเทศ
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ
1. คดีนี้อาจทำให้เกิดการเพ่งเล็งของคณะกรรมการมรดกโลก เรื่องที่ว่าพื้นที่มรดกโลกของไทยยังมีปัญหาการล่าสัตว์ป่าอยู่
2. การฆ่าห่วงโซ่อาหารบนสุดที่เหลือน้อยมากๆ จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศที่ประเมินค่าไม่ได้ตามมา
3. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่ายังมีประเด็นช่องโหว่อีกมาก และบทลงโทษเบาบางเกินไป
4. ธรรมาภิบาลที่ควรตรวจสอบชองผู้บริหารองค์กรใหญ่ระดับชาติ ที่ต้องไม่ทำผิดเสียเอง
5. ให้คนไทยร่วมเรียกร้องความยุติธรรมให้เสือดำ และร่วมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านป่าไม้และสัตว์ป่า